วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พรบ.รถยนต์




ทำไมกฎหมายต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.
การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย
อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
จากรถที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดย
ให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วย
เป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต

2. เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับ
ค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ

3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับ
ความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมใน
การบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว

รถประเภทใดที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภท
ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้
ไม่ว่ารถ

ดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น
เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร
รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ

รถประเภทใดที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือ พลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.

รถประเภทใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  กำหนดประเภทรถที่ไม่ต้องทำ
ประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไว้ดังนี้

1.รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์

2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตาม ระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด

3. รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร

4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและ
หน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ


ใครมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ/โทษการไม่ทำประกันภัย


ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองรถใน
ฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้
ในประเทศการฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครอง
ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งหมื่นบาท
ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ผู้ประสบภัย อันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่า
จะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต
ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับ
ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้
          ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
 ผู้มีหน้าที่รับประกันภัย/โทษของการไม่รับประกันภัย
  ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาต
ให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยรถ
พ.ร.บ. ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้นรวมถึงสาขาของบริษัทนั้น ๆ
ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ ยังมี บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์
มีสาขาให้บริการทั่วประเทศ
          บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง ฯ
องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 25,000 บาท

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น